หัวข้อสำคัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สถานีรถไฟหัวลำโพง

สถานีรถไฟหัวลำโพง หรือ สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

Read More »

ป่าในกรุง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ป่าในกรุง (Metro Forest) พื้นที่ป่าในเมืองแห่งแรกที่เกิดจากการต่อยอดโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 ขึ้นทั่วประเทศ ดำเนินงานโดยสถาบันปลูกป่าของบริษัท ปตท. ที่ปรับพื้นที่รกร้างกว่า 12 ไร่บนถนนสุขาภิบาล 2 เขตประเวศให้กลายเป็นผืนป่าในกรุงเทพฯ ที่อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ดั้งเดิมและหายากมากมาย และสร้างสะพานไม้ทอดยาวไปยังหอชมไม้เรือนยอดที่สามารถชมวิวป่าในกรุงได้แบบ

Read More »

พิกัด ที่เที่ยวสวยกรุงเทพ โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร มณฑปสีทอง สวยวิจิตรตระการตา

โลหะปราสาท ใครกำลังมองหาที่เที่ยวถ่ายรูปสวย วัดสวยในกรุงเทพฯ ขอแนะนำที่นี่เลย วัดราชนัดดารามวรวิหาร วัดเก่าแก่ และสวยงามคู่บ้านคู่เมืองของไทย และที่นี่ยังมี โลหะปราสาท หลังแรกหนึ่งเดียวในไทย และยังเป็นหลังที่ 3 ของโลกอีกด้วย ขอบอกเลยว่าที่นี่ มีความสวยงาม

Read More »

สถานีรถไฟหัวลำโพง

สถานีรถไฟหัวลำโพง หรือ สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้บริเวณถนนพระรามที่ 4 โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครสถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่งก่อนปี พ.ศ. 2566 สถานีกรุงเทพเคยมีรถไฟกว่า 100 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารที่มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพหลายหมื่นคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2561) และโดยเฉพาะช่วงวันสำคัญและวันหยุดเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ ของไทย เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมากปัจจุบันมีเพียงรถไฟขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวนเท่านั้น ที่ยังคงเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกรุงเทพ ส่วนขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ รวมจำนวน 52 ขบวน ได้ย้ายไปเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566

ประวัติ สถานีรถไฟหัวลำโพง

สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟกรุงเทพ เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ

การเปิดใช้งานสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

เมื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2564 และกลายเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้สถานีกรุงเทพต้องลดสถานะเป็นสถานีรองแทน ซึ่งในอนาคตสถานีกรุงเทพจะเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง และจะพัฒนาพื้นที่เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟไทยและศูนย์การเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มคนบางส่วนที่คัดค้าน เช่น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากการยกเลิกสถานีกรุงเทพนั้นจะทำให้คนที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองโดยใช้รถไฟทุกวันได้รับความเดือดร้อน สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี ได้ร่วมแถลงการณ์คัดค้านนโยบายการปิดสถานีกรุงเทพ ขอให้มีการจัดมรดกทางวัฒนธรรมของสถานีกรุงเทพให้ชัดเจน เป็นต้น

โดยในช่วงแรกที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้ จะมีเพียงรถไฟทางไกลบางขบวนเท่านั้นที่สามารถขึ้นไปใช้ได้ เช่น ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น JR-West Blue train (บนท.ป.JR) ที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งจะพ่วงกับรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car), ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น CNR ชุด 115 คันซึ่งมีห้องน้ำเป็นระบบปิดและมีรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car) อยู่ในริ้วขบวน ส่วนรถไฟทางไกลขบวนอื่น ๆ จะยังคงใช้สถานีกรุงเทพต่อไปจนกว่าจะปรับปรุงห้องน้ำในตู้โดยสารเป็นระบบปิดจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงจะทยอยไปรวมที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ต่อไป

โดยในปี พ.ศ. 2565 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะย้ายจุดเริ่มต้นของรถไฟทางไกล 28 ขบวนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์อีกครั้งในวันที่ 1 กันยายน แต่สุดท้ายแผนก็ได้เลื่อนออกไป จนกระทั่งในวันที่ 27 ธันวาคม การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศย้ายจุดเริ่มต้นของรถไฟทางไกลกลุ่มขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ของสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รวมจำนวน 52 ขบวนไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566 ส่วนขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวน ยังคงให้บริการที่สถานีรถไฟกรุงเทพตามเดิม[1] ทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของ สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็น สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อป้องกันการสับสน

ลักษณะของสถานี

ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก – โรมัน จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้านนอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่ว ๆ ไปเมื่อก่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ ในปี พ.ศ. 2459 ในช่วงแรก ๆ บริเวณอาคารมุขหน้าของสถานีจะเขียนว่า “สถานีรถไฟหลวง สายเหนือ” ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นคำว่า “สถานีกรุงเทพ” ในภายหลัง

บริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก มีร้านค้าหลากหลาย ได้แก่ ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลไม้ ขนมปัง ไอศกรีม หนังสือ ร้านขายยา ฯลฯ ก่อนถึงห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้ายังมีห้องละหมาดอีกด้วย เหนือห้องประชาสัมพันธ์มีจอภาพขนาด 300 นิ้ว ควบคุมด้วยระบบดอลบีดิจิทัล ฉายเรื่องราวเกี่ยวกับการรถไฟ ส่วนชั้นลอยมีที่นั่งไม่มากนัก มีบริษัททัวร์ บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และร้านกาแฟที่ผนังด้านซ้ายและขวาของสถานีกรุงเทพมีภาพเขียนสีน้ำ เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของประเทศ อาทิ พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำ เขาวัง ภูกระดึง หาดสมิหลา ฯลฯ นอกจากนี้ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบนในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 มีการจัดงาน Clash de Cartier ซึ่งเป็นงานปาร์ตี้พร้อมการจัดแสดงเครื่องเพชรของคาร์เทียร์ ที่สถานีกรุงเทพ สถานีรถไฟหัวลำโพง

บทความที่เกี่ยวข้อง